+

[av_textblock size=” av-medium-font-size=” av-small-font-size=” av-mini-font-size=” font_color=” color=” id=” custom_class=” av_uid=’av-knsd9nxp’ admin_preview_bg=”]

วิธีสร้างวัฒนธรรมการตระหนักรู้ถึงภัยทางไซเบอร์ในธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง

การโจมตีทางไซเบอร์สร้างความเสียหายต่อบริษัทขนาดย่อมเฉลี่ยครั้งละ 200,000 ดอลลาร์ ซึ่งธุรกิจที่โดนโจมตีส่วนใหญ่ถึงกับต้องปิดกิจการไป ผู้ที่ต้องป้องกันบริษัทของคุณจากอาชญากรทางไซเบอร์ก็คือตัวคุณและพนักงานของคุณเอง แต่คำถามสำคัญคือคุณจะปกป้องธุรกิจของคุณได้อย่างไร

ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณกลายเป็นเหยื่อได้ คือการสร้างวัฒนธรรมการตระหนักรู้ถึงภัยทางไซเบอร์ให้กับคนในบริษัทของคุณทุกระดับชั้น คุณอาจแคลงใจว่าตัวคุณจะป้องกันบริษัทขนาดย่อมหรือขนาดกลางของคุณได้อย่างไร ในเมื่อบริษัทขนาดนี้ไม่ได้มีทุนใช้จ่ายมากมายนัก

เรามีคำแนะนำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่นำไปใช้กับธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของคุณได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนสูง

สร้างวัฒนธรรมการตระหนักรู้ถึงภัยทางไซเบอร์ และเขียนแผนการเป็นลายลักษณ์อักษร

ในขั้นแรกคุณต้องเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เกิดขึ้น แค่การตั้งกฎและวางขั้นตอนปฏิบัตินั้นไม่เพียงพอ เพราะบรรดาอาชญากรก็พัฒนาเทคนิคการโจมตีอยู่เสมอ วิธีการโจมตีจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนคุณแทบวางขั้นตอนการปฏิบัติตามไม่ทัน

ดังนั้นคุณจึงต้องอบรมพนักงานของคุณให้มีนิสัยที่ดีในการระแวดระวังสิ่งผิดปกติ คุณต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีด้วยการใช้อีเมลอย่างปลอดภัยและไม่มักง่าย พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมขึ้นเป็นประจำเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตัวอย่างปลอดภัยจนกลายเป็นนิสัย

เขียนแผนการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ออกเป็นลายลักษณ์อักษร

ขั้นที่สองคือการเขียนแผนการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ออกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีเนื้อหาเป็นรายละเอียดข้อปฏิบัติที่ดีที่สุดที่คุณใช้รับมือกับภัยทางไซเบอร์ แผนการนี้จะช่วยให้คุณอธิบายมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้ชัดเจน และยังช่วยให้คุณสังเกตเห็นว่ายังมีช่องโหว่ตรงไหนอีกด้วย

เป้าหมายของการเขียนแผนการออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร คือเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำงานของคุณมีความปลอดภัย และหากเกิดการโจมตีขึ้นจริงก็มีแผนการรับมือที่ชัดเจนรอไว้แล้ว การเขียนแผนการออกมานี้มักช่วยให้คุณเห็นภาพชัดขึ้นด้วยว่ายังมีจุดไหนที่ต้องเสริมความปลอดภัยเพิ่ม และยังช่วยให้คุณใช้งบประมาณในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างชาญฉลาดอีกด้วย

ความไม่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคไม่ใช่อุปสรรค

จริงอยู่ว่าลูกทีมของคุณอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคกันหมดทุกคน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีส่วนในการสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางบางแห่งทำผิดพลาดไปก็คือการยกหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดไปให้แผนก IT

ทุกคนล้วนมีบทบาทในการช่วยรักษาความปลอดภัยให้บริษัท เพราะแม้แต่ผู้ที่มีทักษะด้านเทคนิคน้อยก็สามารถเรียนรู้วิธีสังเกตสิ่งน่าสงสัยและไม่คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ที่ไม่รู้จักได้

การรักษาความปลอดภัยต้องทำกันเป็นทีม!

อบรมแบบง่ายๆ

พนักงานแต่ละคนมีทักษะด้านเทคโนโลยีไม่เท่ากันจึงต้องอบรมด้วยเนื้อหาที่เรียบง่ายเข้าไว้ เพราะเมื่อคุณสรุปประเด็นจนเหลือแค่พื้นฐานสำคัญแล้ว ไม่ว่าใครก็สามารถทำความเข้าใจและมีบทบาทในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้

รายการต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญที่พนักงานของคุณต้องรู้:

● วิธีการและเหตุผลที่ต้องอัพเดทรหัสผ่านเป็นประจำ

● เมื่อมีคำถามด้านความปลอดภัยหรือพบสิ่งน่าสงสัยต้องสอบถามใคร

● วิธีการสังเกตอีเมลฟิชชิ่งล้วงข้อมูลและอีเมลหลอกลวง

● วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้พลาดดาวน์โหลดไวรัสหรือมัลแวร์เข้าเครื่อง

ตรวจเช็คให้ดีว่าพนักงานของคุณไม่ตั้งรหัสผ่านว่า “password” หรือ “12345” เชื่อหรือไม่ว่าทุกวันนี้ยังมีคนใช้รหัสผ่านแบบนี้อยู่มากมาย คุณจะนำแอพพลิเคชั่นสำหรับบริหารจัดการรหัสผ่านที่จะสร้างรหัสผ่านแบบสุ่มขึ้นมาแล้วเก็บรหัสผ่านไว้ให้หรือแจ้งรหัสผ่านใหม่ให้พนักงานทราบทุก 90 วันมาใช้ก็ได้

มอบหมายให้ใครสักคนในทีมเป็นผู้ประสานงานเมื่อเกิดคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เมื่อพนักงานของคุณรู้ว่าควรติดต่อใครก็จะทำให้พวกเขารายงานสิ่งน่าสงสัยที่พบโดยไม่ลังเล

การฟิชชิ่งล้วงข้อมูลเป็นวิธีที่อาชญากรมักใช้โจมตีบริษัท ดังนั้นจึงต้องอบรมให้พนักงานรู้วิธีสังเกตอีเมลน่าสงสัย นอกจากนี้ยังต้องอบรมพนักงานไม่ให้ดาวน์โหลดไฟล์ใดๆก็ตามเข้าคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับการอนุมัติจาก IT ก่อน ไม่ว่าไฟล์นั้นจะมาจากไหนก็ตาม

กำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลลับให้ชัดเจน

บริษัทส่วนใหญ่ต้องทำงานกับข้อมูลลับของลูกค้าอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสำหรับติดต่อ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หรือคุณอาจจะรับชำระเงินจากลูกค้าซึ่งจะมีข้อมูลทางการเงินติดมาด้วย ไม่ว่าจะอย่างไรคุณก็มีข้อมูลที่ต้องปกป้องอยู่เสมอ

ถ้าคุณอนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ของตัวเองมาใช้ทำงานได้ ก็ต้องวางนโยบายเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่นำมาใช้อย่างเคร่งครัดและชัดเจน ทีม IT ของคุณจะต้องคอยให้การสนับสนุน อัพเดทซอฟต์แวร์ และติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยให้ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎการรักษาความปลอดภัย

พนักงานของคุณทุกคนต้องเข้าถึงไฟล์ได้เพียงเฉพาะส่วนที่จำเป็นกับเนื้องานของเขาเท่านั้น ข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะต้องถูกเข้ารหัส และโน้ตส่วนตัวทั้งหมดต้องถูกทำลายทิ้งทันทีที่จบการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง นอกจากนี้ต้องไม่ลืมอัพเดทซอฟต์แวร์สำหรับเข้ารหัสเพื่อป้องกันการถูกแฮคด้วย

บล็อคเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย

เว็บไซต์บางแห่งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่หละหลวม และเว็บไซต์บางแห่งก็ถึงขั้นขโมยข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของคุณ จึงต้องป้องกันไม่ให้สามารถเข้าเว็บไซต์ทั้งสองรูปแบบนี้จากคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานในออฟฟิศของคุณได้ เมื่อวางระบบจำกัดการใช้งานอย่างเหมาะสมแล้ว ทุกคนในองค์กรของคุณก็จะมีความปลอดภัยทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้น

หากต้องการศึกษาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้เลยในวันนี้!
[/av_textblock]

[av_social_share title=’Share this articles’ buttons=” yelp_link=’https://www.yelp.com’ style=” alb_description=” id=” custom_class=” av_uid=’av-knsd6ppg’ admin_preview_bg=”]